คำนำ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้จัดแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต 3 ปี (พ.ศ.2562 - 2564) ฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นมาตรการแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ เพื่อให้ ทุกหน่วยงานในองค์การบริหารตำบลเกาะหมาก ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำ เนินการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตขององค์กร สร้างระบบราชการที่มีความโปร่งใส จัดระบบการตรวจสอบและประเมินผล สัมฤทธิ์ตามมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ความคุ้มค่า เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ปรับปรุงระบบการปฏิบัติงาน ให้เกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 4 มิติ ดังนี้
- มิติที่ 1 การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
- มิติที่ 2 การบริหารราชการเพื่อป้องกันการทุจริต
- มิติที่ 3 การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
- มิติที่ 4 การเสริมสร้างและปรับปรุงกลไกในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต 3 ปี
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
สิงหาคม 2561
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการบ่งชี้ความเสี่ยงของการทุจริตที่มีอยู่ในองค์กรโดยการประเมินโอกาสของการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนบุคคลหรือหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทำทุจริต เพื่อพิจารณาว่าการควบคุมและการป้องกันการทุจริตที่มีอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
การทุจริตในระดับท้องถิ่น พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของการทุจริตในระดับท้องถิ่น ได้แก่การกระจายอำนาจลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ว่าโดยหลักการแล้วการกระจายอำนาจมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้บริการต่าง ๆ ของรัฐสามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ในทางปฏิบัติทำให้แนวโน้มของการทุจริตในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ลักษณะการทุจริตในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
- (1) การทุจริตด้านงบประมาณ การทำบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง และการเงินการคลัง ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- (2) สภาพหรือปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคล
- (3) สภาพการทุจริตอันเกิดจากช่องว่างของกฎระเบียบและกฎหมาย
- (4) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคุณธรรมจริยธรรม
- (5) สภาพหรือลักษณะปัญหาที่เกิดจากการขาดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
- (6) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการตรวจสอบขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่าง ๆ
- (7) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากอำนาจ บารมี และอิทธิพลท้องถิ่น
สาเหตุและปัจจัยที่นำไปสู่การทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้
- (1) โอกาส แม้ว่าในปัจจุบันมีหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแต่พบว่า ยังคงมีช่องว่างที่ทำให้เกิดโอกาสของการทุจริต ซึ่งโอกาสดังกล่าวเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง กฎหมาย กฎระเบียบไม่รัดกุม และอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูงก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ทำให้เกิดการทุจริต
- (2) การผูกขาด ในบางกรณีการดำเนินงานของภาครัฐ ได้แก่ การจัดซื้อ – จัดจ้าง เป็นเรื่องของการผูกขาด ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องเป็นห่วงโซ่ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ในบางครั้งพบบริษัทมีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อให้ตนเองได้รับสิทธิในการดำเนินงานโครงการของภาครัฐ
- (3) การขาดกลไกในการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริตในปัจจุบันมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นโดยเฉพาะการทุจริตในเชิงนโยบายที่ทำให้การทุจริตกลายเป็นความชอบธรรมในสายตาของประชาชน ขาดกลไกการตรวจสอบความโปร่งใสที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเข้าไปตรวจสอบการทุจริตของบุคคลเหล่านี้
- (4) สิ่งจูงใจ เป็นที่ยอมรับว่าสภาวะทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเรื่องของวัตถุนิยม สังคมทุนนิยม ทำให้คนในปัจจุบันมุ่งเน้นที่การสร้างความร่ำรวย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่มีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมการทุจริตเพิ่มขึ้น
- (5) การขาดจริยธรรม คุณธรรม ในสมัยโบราณ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมที่ได้รับการเน้นเป็นพิเศษถือว่าเป็นเครื่องวัดความดีของคน แต่ในปัจจุบัน พบว่า คนมีความละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาปน้อยลง และมีความเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น มองแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าที่จะยึดผลประโยชน์ส่วนรวม
หลักการและเหตุผล
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยยึดหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ส่วนการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำได้เท่าที่จำเป็นตามกรอบที่กฎหมายกำหนด และต้องเป็นไปเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์สุขของประเทศโดยรวม
นอกจากนี้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริการราชการแผ่นดิน กำหนดให้การบริหารราชการซึ่งรวมทั้งราชการบริหารส่วนท้องถิ่นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินที่มีองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการจัดการบริการสาธารณะและแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นยังมีปัญหาหลายประการ ที่สำคัญคือปัญหาด้านการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง และปัญหาการกำกับดูแลโดยองค์กรที่มี อำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย และด้วยเหตุที่ว่านี้ ได้มีส่วนทำให้การบริหาราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนหนึ่งไม่เป็นไปเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง คณะผู้บริหารหรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางส่วนมีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้องโดยไม่ชอบมีการกระทำในลักษะที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม
จากสภาพปัญหาที่พบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อประชาสัมพันธ์ จะพบว่าภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่ไว้วางใจการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมา
ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเร่งสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะประชาชนให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน การตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งบุคคลที่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดทุจริตหรือการทุจริตมีทิศทางลดน้อยลง ย่อมเกิดจากบุคลากรในองค์กร ซึ่งประกอบด้วย คณะสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคณะผู้บริหาร ตลอดจนข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกๆตำแหน่ง จะต้องมีจิตสำนึกค่านิยม ทัศนคติที่ชื่นชม ยอมรับหลักคุณธรรม จริยธรรม ประกอบหลักการใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับฯ ในการบริหารหรือการปฏิบัติงาน กล่าวโดยสรุป หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” แล้ว หน่วยงานองค์กรอื่นและประชาชนก็จะเชื่อมั่นและไว้วางใจ ศรัทธาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแน่นอน
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยสร้างภาพลักษณ์ในด้านการป้องกันการทุจริตเพื่อขยายผลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นได้เข้าร่วมการเป็นเครือข่ายในด้านการป้องกันการทุจริตแล้วก็ทำให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ยึดหลักการบริหารงานและการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน
- 1. เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
- 2. เพื่อส่งเสริม/เสริมสร้างให้บุคลากร ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ปฏิบัติราชการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- 3. เพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง
- 4. เพื่อให้ระบบ และกลไกในการป้องกันและตรวจสอบมิให้เกิดการทุจริต หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
- 5. เพื่อให้ทุกภาคส่วนรู้เท่าทัน ร่วมคิดการป้องกันการทุจริต โดยมีการพัฒนาศักยภาพและคุณธรรม จริยธรรมของบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างทั่วถึง
- 6. เพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วม (People’s audit) ของภาคประชาชนในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป้าหมาย
- 1. ข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ตลอดจนประชาชน มีจิตสำนึกในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปในทางที่มิชอบทุกฝ่าย
- 2. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก มีระบบการปฏิบัติงานที่สามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของราชการ และเจ้าที่ และสามารถจัดการกับกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างรวดเร็ว โปร่งใส มิให้ข้าราชการอื่นใช้เป็นเยี่ยงอย่าง
- 3. หน่วยงานสามารถประสานความร่วมมือในองค์กรและภายนอกองค์กรในการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริต ภาครัฐ
- 4. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก สามารถพัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบ ควบคุม และถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม
- 5. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก พัฒนาบุคลากร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- 6. สนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบการปฏิบัติหรือบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประโยชน์ของการจัดทำแผน
- 1. ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการฝ่ายบริหาร บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึงประชาชนในท้องถิ่นมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของตนเอง อันจะนำมาซึ่งการสร้างค่านิยม และอุดมการณ์ในการต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption) จากการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หลักธรรมาภิบาล รวมถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
- 2. ประชาชนมีจิตสำนึกในการเห็นประโยชน์ของชุมชนและเฝ้าระวังการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
- 3. มีระบบการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและลดโอกาสในการกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- 4. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนราชการ ประชาชนในการป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต 3 ปี
มิติ
|
ภารกิจตามมิติ
|
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
|
ปี 2562งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2563งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2564งบประมาณ(บาท)
|
หมายเหตุ
|
1. การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
|
1.1 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่บุคลากรทั้งข้าราชการการเมืองฝ่ายสภาท้องถิ่น และฝ่ายประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
1.1.1(1) โครงการฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่ ผู้บริหาร สมาชิกสภาและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
100,000
|
-
|
-
|
-
|
2
|
1.2 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่ประชาชนทุกภาคส่วนท้องถิ่น
|
1.2.1 (1) โครงการกิจกรรม
1.2.2 (2) โครงการกิจกรรม
1.1.2 (3) โครงการกิจกรรม
โครงการท้องถิ่นไทยรวมใจภักดิ์รักพื้นที่สีเขียว
|
20,000
|
-
|
-
|
-
|
-
|
1.3 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักแก่เด็กและเยาวชน
|
1.1.3 (1) โครงการอุ้มลูกจูงหลานเข้าวัด03/04/2012
|
10,000
|
-
|
-
|
-
|
มิติที่ 1
|
รวม
|
จำนวน 3 โครงการ
|
130,000
|
-
|
-
|
-
|
มิติ
|
ภารกิจตามมิติ
|
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
|
ปี 2562งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2563งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2564งบประมาณ(บาท)
|
หมายเหตุ
|
2. การบริหารราชการเพื่อป้องกันการทุจริต
|
2.1 แสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหาร
|
2.1.1 (1) กิจกรรมประกาศเจตจำนงต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
-
|
-
|
-
|
-
|
2
|
2.2 มาตรการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
|
2.2.1 (1) มาตรการออกคำสั่งมอบหมายของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าส่วนราชการ
2.2.3 (1) โครงการจ้างสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
|
20,000
|
20,000
|
20,000
|
-
|
-
|
2.3 มาตรการการใช้ดุลยพินิจและใช้อำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
|
2.3.1 (1) กิจกรรมการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
2.3.2 (1) มาตรการการมอบอำนาจอนุมัติ อนุญาต สั่งการ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
2.3.2 (2) มาตรการออกคำสั่งมอบหมายของนายก อบต. ปลัด อบต.และหัวหน้าส่วนราชการ
|
10,000
|
-
|
-
|
-
|
-
|
2.4 การเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงาน/บุคคลในการดำเนินกิจการการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ประจักษ์
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
2.5 มาตรการจัดการในกรณีได้ทราบหรือรับแจ้งหรือตรวจสอบพบการทุจริต
|
2.5.1 (1) มาตรการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
2.5.2 (1) มาตรการ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
มิติที่2
|
รวม
|
จำนวน 8 โครงการ
|
20,000
|
20,000
|
20,000
|
-
|
มิติ
|
ภารกิจตามมิติ
|
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
|
ปี 2562งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2563งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2564งบประมาณ(บาท)
|
หมายเหตุ
|
3. การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
|
3.1 จัดให้มีและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในช่องทางที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้มีส่วนร่วมตรวจสอบปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทุกขั้นตอน
|
3.1.1 (1) กิจกรรม การออกระเบียบจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ อบต.
3.1.2 (1) มาตรการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ
3.1.3 (1) โครงการสื่อประชาสัมพันธ์
|
5,000
|
5,000
|
5,000
|
-
|
-
|
3.2 การรับฟังความคิดเห็น การรับและตอบสนองเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของประชาชน
|
3.2.1 (1) โครงการจัดประชาคมแผนชุมชน
|
10,000
|
-
|
-
|
-
|
-
|
3.3 การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
3.3.1 (1) มาตรการแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา อบต.
3.3.1 (1) ประชุมประชาคมหมู่บ้านและประชาคมตำบลประจำปี
|
-
|
-
|
-
|
-
|
มิติที่ 3
|
รวม
|
จำนวน 6 โครงการ
|
15,000
|
-
|
-
|
-
|
มิติ
|
ภารกิจตามมิติ
|
โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
|
ปี 2562งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2563งบประมาณ(บาท)
|
ปี 2564งบประมาณ(บาท)
|
หมายเหตุ
|
4. การเสริมสร้างและปรับปรุงกลไกในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
4.1 มีการจัดวางระบบและรายงานการควบคุมภายในตามที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
|
4.1.1 (1) โครงการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน
4.1.2 (1) กิจกรรมติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
4.2 การสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบการปฏิบัติหรือการบริหารราชการตามช่องทางที่สามารถดำเนินการได้
|
4.2.2 (1) กิจกรรมการรายงานผลการใช้จ่ายเงินให้ประชาชนทราบ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
4.3 การส่งเสริมบทบาทการตรวจสอบของสภาท้องถิ่น
|
4.3.1 (1) กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาท้องถิ่น
4.3.2 (1) กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของสมาชิกสภา อบต.
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
4.4.1 (1) กิจกรรมการติดป้ายประชาสัมพันธ์กรณีพบเห็นการทุจริต
|
2,000
|
2,000
|
2,000
|
-
|
-
|
มิติที่ 4
|
รวม
|
จำนวน 6 โครงการ
|
2,000
|
2,000
|
2,000
|
-
|
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี 2562
1. ชื่อโครงการ : โครงการจัดทำรายงานการคบคุมภายใน
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 กำหนดให้หน่วยรับติดตามประเมินผลการควบคุมภายในที่ได้กำหนดไว้รายงานต่อผู้กำกับดูแลและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบฯ กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำทุกปี
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน ระดับองค์กรขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
2. เพื่อสรุปรายงานผลการประเมินผลการควบคุมภายในให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทราบตามแบบที่ระเบียบฯ กำหนด
3. เพื่อรายงานการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในต่อผู้กำกับดูแลและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามกำหนด
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ส่วนราชการทุกหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
- 1. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน ระดับองค์กร
- 2. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน ระดับหน่วยงานย่อย
- 3. ผู้บริหารมีหนังสือแจ้งให้ทุกส่วนราชการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน
- 4. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน ระดับหน่วยงานย่อย ดำเนินการประเมินองค์ประกอบตามแบบ ปย.1 และประเมินผลการปรับปรุงการควบคุมภายในตามแบบ ปย.2
- 5. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในระดับองค์กร ดำเนินการรวบรวม เพื่อจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบฯ ข้อ 6 ระดับองค์กร และนำเสนอผู้บริหาร พร้อมจัดส่งรายงานให้ผู้กำกับดูแลและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
7. ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ.2561
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัด อบต.
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 1. บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- 2. ลดโอกาสความผิดพลาด ป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงาน
- 3. เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประชาชนโดยรวม
1. ชื่อโครงการ : โครงการสื่อประชาสัมพันธ์
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ในภาวะสังคมปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าด้านวิชาการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ก้าวหน้าไปมากเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง การนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินงานผ่านสื่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสรุปเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจได้ง่ายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หรือช่วงระยะเวลาอันจำกัดนั้นเป็นเรื่องที่ต้องปูพื้นฐาน สร้างความน่าเชื่อถือ และน่าสนใจให้กับกิจกรรม/โครงการของ อบต. ให้สามารถมองเห็นภาพหรือเห็นความเกี่ยวโยงกันของกิจกรรม/โครงการต่าง ๆได้ชัดเจนถูกต้อง ฉะนั้นการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนต้องการให้ประชาชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมรับรู้ในภารกิจของ อบต. จึงจำเป็นต้องพิจารณาในการเลือกสื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์นั้น ๆ การใช้สื่อเทคนิคและวิธีการเป็นอย่างไรบ้าง ในแต่ละขั้นตอนที่ต่างกันเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนยอมรับและให้ความร่วมมือสนับสนุน ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาตามภารกิจ บทบาท หน้าที่ อย่างโปร่งใสและยุติธรรม
3. วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ อบต.ให้ประชาชนได้รับทราบโดยผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ Social network ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
- 2. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดการเรียนรู้ รับรู้และเข้าใจในภารกิจการปฏิบัติงานของ อบต.อย่างถูกต้องและโปร่งใส
- 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในภารกิจของอบต.
- 4. เพื่อนำเสนอผลงาน/โครงการโดดเด่น ให้เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย
4. เป้าหมาย
- 1. จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์อบต. และคู่มือการให้บริการประชาชน
- 2. ป้ายประชาสัมพันธ์
- 3. เสียงตามสาย
- 4. จัดทำ Presentation นำเสนอผลงานของ อบต.
- 5. อื่น ๆ
5. พื้นที่ดำเนินการ
6. วิธีดำเนินการ
- 1. เสนออนุมัติโครงการ
- 2. ดำเนินการประชุม
- 3. มอบหมายงาน
- 4. ผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ
- 5. ติดตามและประเมินผล
7. ระยะเวลาดำเนินการ
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
- สำนักงานปลัด อบต.เกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการดำเนินงานของ อบต. เป็นตัวชี้วัด
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมประกาศเจตจำนงต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมาแล้ว 3 ฉบับ ปัจจุบันที่ใช้อยู่เป็นฉบับที่ 3 เริ่มจากปี พ.ศ. 2560 จนถึงปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐตลอดจนประชาชน ในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ.2564 ซึ่งการที่ระดับคะแนนจะสูงขึ้นได้นั้น การบริหารงานภาครัฐต้องมีระดับธรรมาภิบาลที่สูงขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนต้องมีพฤติกรรมแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้โครงสร้างการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจการปกครอง ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นและเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนรัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยยึดหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยยึดหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ส่วนการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำได้เท่าที่จำเป็นตามกรอบกฎหมายกำหนด และต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าปัญหาการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีคำครหา ที่ได้สร้างความขมขื่นใจให้แก่คนทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งหากพิจารณาจำนวนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบกับมีปัจจัยนานัปการที่คอยยั่วยวนใจ บั่นทอนความมีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ของคนทำงานราชการส่วนท้องถิ่น ให้เหือดหายไป
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตอย่างเห็นชัดเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารงานด้วยความโปร่งใส มีความเข้มแข็งในการบริหารราชการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาลบังเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน และยกระดับมาตรฐานในการป้องกันการทุจริตขององค์กรตนเองต่อไปให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทยต่อไป
3. วัตถุประสงค์
- เพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยการจัดทำแผนป้องกันการทุจริตในองค์กร
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
- 4.1 ประกาศเจตจำนงการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหาร อย่างน้อย 1 ฉบับ
- 4.2 มีการประกาศเจตจำนงการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารต่อสาธารณะชน
- 4.3 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ปี
5. พื้นที่ดำเนินการ
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีการดำเนินการ
- 6.1 ประกาศเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- 6.2 ประชุมหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้อง
- 6.3 จัดตั้งคณะทำงาน
- 6.4 ประชุมคณะทำงาน
- 6.5 จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
- 6.6 ประกาศการใช้แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
- 6.7 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
- .8 รายงานผลการดำเนินงาน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
- 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบ
- สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
ผลผลิต
- มีการประกาศเจตจำนงการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหาร
- มีการประกาศเจตจำนงการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารต่อสาธารณะชน
- มีแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ปี
ผลลัพธ์
- การบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความโปร่งใส สามารถป้องกันการทุจริตของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้
- ลดข้อร้องเรียนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ด้วยคณะผู้บริหารและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นกลไกหลักในการให้บริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบสำคัญในอันที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุข และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและท้องถิ่น ดังนั้น การที่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นจะมีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุขหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของคณะผู้บริหารและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกคน หากคณะผู้บริหารและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีคุณธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม เป็นผู้มีจิตสำนึกที่จะตอบสนองคุณแผ่นดินด้วยการกระทำทุกสิ่ง เพื่อคุณประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ รณรงค์และส่งเสริมค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์แก้กฎระเบียบที่เอื้อต่อการทุจริต ใช้วิธีการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามมาตรการการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ส่งเสริมให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นแบบย่าง ประกอบกับอนุสนธิคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) ได้กำหนดมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทั่วไปใช้เป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นเครื่องกำกับความประพฤติของตน ได้แก่
- 1. พึงดำรงตนให้ตั้งมั่นในศีลธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และมีความรับผิดชอบ
- 2. พึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเปิดเผย โปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบ
- 3. พึงให้บริการด้วยความเสมอภาค สะดวก รวดเร็ว มีอัธยาศัยไมตรี โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
- 4. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยยึดผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างคุ้มค่า
- 5. พึงพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้ยึดถือเป็นแนวทางสำหรับประพฤติตนและเป็นหลักการในการปฏิบัติงาน
ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจและเพื่อพัฒนาบุคลากรในสังกัด สามารถนำหลักคุณธรรม จริยธรรมไปพัฒนาคุณภาพชีวิตในประจำวัน และประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จึงได้จัดทำโครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะผู้บริหาร และพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ขึ้นมา
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับคณะผู้บริหารและพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้นำหลักคุณธรรม จริยธรรม ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานได้อย่างเหมาะสม
- 2. เพื่อให้คณะผู้บริหารและพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เกิดการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกัน รวมทั้งได้เปิดโลกทัศน์ในการศึกษาองค์ความรู้ใหม่ ๆ
- 3. เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้คงอยู่และสืบทอดต่อไป
เป้าหมาย/ผลผลิต
- 4.1 คณะผู้บริหาร
- 4.2 พนักงานส่วนตำบล
- 4.3 พนักงานครู
- 4.4 ลูกจ้างประจำ
- 4.5 พนักงานจ้าง
- 4.6 พนักงานจ้างเหมาบริการ
พื้นที่ดำเนินการ
- วัดเกาะหมาก ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด
วิธีการดำเนินการ
- 6.1 วางแผนภายในองค์กรเพื่อหาแนวทางในการจัดอบรมและเสนอโครงการ
- 6.2 ติดต่อประสานวิทยากร
- 6.3 ดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการฯ
- 6.4 ติดตามรายงานผลการดำเนินโครงการ ฯ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
ระยะเวลาดำเนินการ
- 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2564)
งบประมาณดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
- สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 1. คณะผู้บริหารและพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้นำหลักคุณธรรม จริยธรรม ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานได้อย่างเหมาะสม
- 2. คณะผู้บริหารและพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เกิดการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกัน รวมทั้งได้เปิดโลกทัศน์ในการศึกษาองค์ความรู้ใหม่ ๆ
- 3. เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประชาชนโดยรวม
1. ชื่อโครงการ : การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 3/1 บัญญัติว่าการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานการมีส่วนร่วมของประชาชนการเปิดเผยข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ ประกอบกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 12 กาหนดไว้ว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกาหนดมาตรการกากับการปฏิบัติราชการ รวมทั้งมาตรา 45 กาหนดให้ส่วนราชการ จัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กาหนด
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จึงได้จัดทำข้อตกลงและติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยมีการนามในข้อตกลงการปฏิบัติราชการระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากกับปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและหัวหน้าสานักปลัด/ผู้อานวยการกอง และลงนามจัดทำข้อตกลงทุกปี เพื่อประเมินผลการปฏิบัติราชการ
3. วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามข้อตกลงการปฏิบัติราชการของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- 2. เพื่อให้หน่วยงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน วีการ และรายละเอียดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
- 3. เพื่อให้เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
บุคลากรในองค์กร
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีการดำเนินการ
- 6.1 ชี้แจงแต่ละส่วนงานและทาความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัด และกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
- 6.2 ติดตามผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด
- 6.3 วัดผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
ไม่ใช้งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบ
ทุกส่วนราชการใน องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
1. มีการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
1. ชื่อโครงการ : โครงการจัดบูรณาการจัดทำแผนชุมชนและพัฒนาห้าปี
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
เนื่องด้วยปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้ให้ความสำคัญต่อการกระจายอานาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการกระจายอานาจ ตามหมวด 14 ซึ่งว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการมีส่วนร่วมของราษฎรในท้องถิ่น ตามมาตรา 281 –– 290 บัญญัติให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกาหนดนโยบายการปกครอง การบริหารงานบุคคลการเงินและการคลัง และนอกจากกฎหมายรัฐธรรมนูญตามที่ได้แจ้งในข้างต้น ก็ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอานาจและองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น มาตรา 16 (15) และมาตรา 16 (16) แห่งพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ซึ่งกาหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีอานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 57 (1) (6) มาตรา 66 มาตรา 67 (3) (6) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ประกอบกับความในมาตรา 16(10) (19) แห่งพระราชบัญญัติกาหนดแผนขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กาหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และโครงการบริหารงานราชการต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการและประโยชน์ของประชาชน
ดังนั้น งานวิเคราะห์นโยบายและแผน สานักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดเวทีประชาคม เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารราชการอีกทางหนึ่งด้วย
3. วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะปัญหาและความต้องการ เพื่อนามาเป็นข้อมูลในการจัดทำร่างแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล
- 2. เพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมกันพัฒนาชุมชนของตนเอง
- 3. เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของท้องถิ่น โดยรับฟังความคิดเห็นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงในการนามาปรับปรุงการให้บริการ การแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตำบลเกาะหมาก ต่อไป
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
- ประชาชนในเขตตำบลเกาะหมาก จำนวน 2 หมู่บ้าน
5. พื้นที่ดำเนินการ
- เขตพื้นที่ใน องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีการดำเนินการ
- 6.1 เสนอขออนุมัติโครงการ
- 6.2 ประสานชุมชน
- 6.3 จัดทำเวทีประชาคมเพื่อให้รับฟังความคิดเห็น และความต้องการของประชาชน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
- 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2565)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบ
- สานักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 1. ได้รับทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในตำบล
- 2. ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและร่วมมือแก้ไขปัญหาของชุมชน
- 3. ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามระบอบประชาธิปไตย
1. ชื่อโครงการ : โครงการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ในมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นที่มาของการปฏิรูประบบราชการเพื่อวางกรอบแนวทางการบริหารราชการไว้ว่า การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน และเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกรอบรวมทั้งทิศทางและแนวทางการบริหารราชการดังกล่าว จึงได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
3. วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการได้อย่างรวดเร็ว
- 2. เพื่อให้การปฏิบัติราชการมีมาตรฐาน
- 3. เพื่อปรับทัศนคติของประชาชนในด้านการให้บริการและผู้ที่มาติดต่อ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
- ประชาชนที่มาติดต่อราชการกับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. พื้นที่ดำเนินการ
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีการดำเนินการ
- 6.1 เสนอขออนุมัติโครงการ
- 6.2 จัดให้มีการประชุมคณะทำงาน
- 6.3 จัดทำประกาศกระบวนการปรับลดระยะเวลาการปฏิบัติราชการ
- 6.4 ดำเนินการจัดทำกิจกรรม
7. ระยะเวลาดำเนินการ
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบ
- ทุกส่วนราชการใน องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 1. ประชาชนได้รับการบริการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
- 2. ประชาชนมีทัศนคติที่ดีในด้านการให้บริการ
- 3. การปฏิบัติราชการมีมาตรฐาน
1. ชื่อโครงการ : โครงการอบรมให้ความรู้ด้านระเบียบ กฎหมายท้องถิ่น ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ด้วยเหตุผลดังกล่าวการพัฒนาศักยภาพทักษะและความรู้ของสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีความพร้อมที่จะรับภารกิจและการจัดบริการให้แก่ชุมชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ประกอบกับการให้การศึกษาอบรมเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้ดำเนินการ เพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นมีความรู้และทักษะด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นด้วย เพื่อพัฒนาตนเองและสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จึงได้มีการจัดส่งสมาชิกสภาท้องถิ่นให้เข้ารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและสามารถนำมาพัฒนาองค์กร พัฒนาท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเจริญก้าวหน้า
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานให้กับสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีความเข้าใจในการทำงานตามบทบาทและอำนาจหน้าที่
- 3.2 เพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นได้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
- 3.3 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสภาท้องถิ่นได้เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
- ผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. พื้นที่ดำเนินการ
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก และหน่วยงานที่จัดฝึกอบรม
6. วิธีการดำเนินการ
- 6.1 ฝ่ายบริหารงานบุคคลตรวจสอบหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งภายในองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานภายนอก เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดส่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเข้ารับการอบรมหรือร่วมประชุมสัมมนาแล้วแต่กรณี
- 6.2 เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อส่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเข้ารับการฝึกอบรม หรือเข้าร่วมประชุม หรือดำเนินการจัดฝึกอบรมเองโดยสำนัก/กองงานที่รับผิดชอบ
- 6.3 แจ้งให้สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ผ่านการฝึกอบรมจัดทำรายงานสรุปผลการฝึกอบรมเสนอประธานสภา โดยผ่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
- 6.4 ฝ่ายบริหารงานบุคคลดำเนินการประเมินผลการฝึกอบรมของสมาชิกสภาท้องถิ่น และรายงานเสนอนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
- 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
- สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ผลลัพธ์
- 10.1 สมาชิกสภาท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานตามบทบาทและอำนาจหน้าที่
- 10.2 สมาชิกสภาท้องถิ่นได้รับการเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานใหม่ๆ
- 10.3 การปฏิบัติงานของสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
11. ตัวชี้วัด
- จำนวนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้รับความรู้ในการฝึกอบรม
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการรับ การจ่าย และการใช้ ประโยชน์ทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
การเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นขั้นตอนหนึ่งของวงจรการบริหารการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยหรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยจึงจัดทำใบนำฝากเป็นรายรับ จัดทำใบฎีกาเพื่อเป็นรายจ่าย เบิกเงินออกจากคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ สำหรับการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกันต้องมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายทั้งการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ จะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้อง มีความสุจริต ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จึงได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อให้ การรับ จ่ายเงินและการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินเกิดความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรับทราบถึงรายรับ-รายจ่าย ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
3. วัตถุประสงค์
- เพื่อให้การรับ จ่ายเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้
4. พื้นที่ดำเนินการ
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. วิธีการดำเนินการ
- - มีการแต่งตั้งกรรมการพิจารณางบประมาณ
- - มีการแต่งตั้งกรรมการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยมีปะชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการ
- - เปิดโอกาสให้ประชาชนสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน
- - สรุปผลการรับ จ่ายเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ให้ประชาชนทราบทางช่องทางต่างๆ เช่น ทางเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร และเสียงตามสาย หอกระจายข่าว เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
6. ระยะเวลาดำเนินการ
- 5ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565)
7. งบประมาณดำเนินการ
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
- กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
9. ตัวชี้วัด
- มีการดำเนินงานตามวิธีการดำเนินงานครบทุกขั้นตอน
10. ผลลัพธ์
- ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบและได้รับทราบข้อมูลการรับ จ่ายเงินขององค์การบริหารส่วนตำบล
เกาะหมากทำให้เกิดความโปร่งใส
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ระบบการควบคุมภายในเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นเครื่องมือในการบริหารงานในหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐ หรือเอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบการควบคุมภายในจะช่วยควบคุมหรือลดความเสี่ยงของหน่วยงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ซึ่งจะทำให้ปฏิบัติงานและการจัดการของหน่วยงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในอดีตที่ผ่านมาการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้มีการควบคุมภายในตามที่กระทรวงการคลังประกาศให้ใช้เป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งอาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ระบบบัญชี หนังสือสั่งการ และหนังสือตอบข้อหารือต่างๆ โดยส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การควบคุมด้านการเงินและบัญชีและการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงการจัดการด้านอื่นๆ นอกเหนือจากด้านการเงินและบัญชีในหน่วยงาน จึงไม่สามารถสะท้อนภาพถึงผลการดำเนินงานในภาพรวมของหน่วยงานได้ ระบบการควบคุมภายในที่ดี ควรเป็นระบบการควบคุมที่ครอบคลุมงานทุกด้านและสามารถสะท้อนภาพให้เห็นเป็นองค์รวมของหน่วยงานนั้นๆ ว่ามีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่เพียงใด การที่ระบบการควบคุมภายในของรัฐยังไม่ครอบคลุมทุกระบบงาน อาจเป็นช่องทางรั่วไหลทำให้เกิดความเสียหายในหน่วยงานและการดำเนินงานไม่สัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการกำหนดหน้าที่และมอบหมายงานในหน่วยงานไม่เหมาะสม การมอบหมายการปฏิบัติงานทั้งกระบวนการให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียว การควบคุมสอบทานและการตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอตลอดจนขาดการประเมินและการบริหารความเสี่ยงการควบคุมภายในของหน่วยงานที่กำหนดขึ้น และพัฒนาให้ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวทันสมัยอยู่เสมอ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้องค์กรมีแนวทางในการกำหนดระบบการควบคุมภายใน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน่วยงานจึงได้กำหนดกิจกรรมการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ขึ้น
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็น ลดความเสี่ยงหรือผลเสียหายด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ ที่อาจมีขึ้น
- 3.2 เพื่อให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนและเชื่อถือได้ สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงาน และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
- 3.3 เพื่อให้บุคลากรมีการปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย เงื่อนไขสัญญา ข้อตกลง ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของหน่วยงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน
4. เป้าหมาย
เพื่อให้การควบคุมภายในขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน่วยงาน อีกทั้งยังเป็นการควบคุมหรือลดความเสี่ยงของหน่วยงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานและการจัดงานของหน่วยงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
5. วิธีดำเนินการ
- 5.1 แต่งตั้งคณะทำงานติดตามประเมินผลการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 6
- 5.2 ประชุมคณะทำงานเพื่อปรับปรุงพัฒนาระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจและตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เกาะหมาก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- 5.3 การรวบรวมผลการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในให้คณะทำงานฯ เพื่อสรุปข้อมูล
- 5.4 รายงานผลการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นและอุปสรรคต่างๆ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้บริหารทราบ
6. สถานที่/ระยะเวลาดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ระยะเวลา 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
7. หน่วยงานรับผิดชอบ
ทุกกอง/สำนัก ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- 1. การดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
- 2. การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่า
- 3. มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ
- 4. การปฏิบัติในหน่วยงานเป็นไปอย่างมีระบบและอยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่วางไว้
- 5. เป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานดีอย่างดียิ่ง
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 10.1 มีรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน ตามมาตรฐาน ข้อ 6 ที่เสร็จตามกำหนดเวลา
- 10.2 กิจกรรมการควบคุมภายใน ร้อยละ 80 ได้ดำเนินการแก้ไข
- 10.3 ร้อยละของหน่วยงานรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในครบทุกงาน
- 10.4 มีการจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน
- 10.5 ระดับความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน
(ร้อยละ 80 ในระดับมาก)
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมการติดป้ายประชาสัมพันธ์กรณีพบเห็นการทุจริต
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
ปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐได้ส่งผลเสียหายกับประเทศชาติอย่างมาก จำเป็นที่ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องตระหนักและร่วมกันแก้ไขจัดการปัญหา โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนต่างๆ ให้เกิดการเฝ้าระวัง ป้องปรามการทุจริต ในรูปแบบการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในจังหวัดได้ตระหนักถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
- 3.2 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. พื้นที่ดำเนินการ
6. วิธีดำเนินการ
- 6.1 ขออนุมัติจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
- 6.2 ปิดประกาศประชาสัมพันธ์
- 6.3 จัดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบรับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์
- 6.4 บันทึกเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์
- 6.5 เสนอผู้บริหารพิจารณาสั่งการ
- 6.6 ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเรื่องที่ได้รับการร้องเรียน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 10.1 จำนวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตลดน้อยลง
- 10.2 นำเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
การส่งเสริมและการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวข้องกับหลายองค์ประกอบ และหลายฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรท้องถิ่น อันได้แก่ ฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรเหล่านี้มีบทบาทและต้องทำหน้าที่ของตนอย่างเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างแนวคิดประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมโดยให้มีกระบวนการสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาภายในตำบลและตอบสนองความต้องการของประชาชน ตลอดจนมีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายสภากับฝ่ายบริหาร และที่สำคัญส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสนอแก้ปัญหา รวมถึงการตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เล็งเห็นถึงความสำคัญของบทบาทของสภาท้องถิ่น เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน จึงได้ดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาท้องถิ่นในเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกสภาท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในการใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความสมดุลในการบริหารงาน
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีบทบาทในการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมในการทำงาน
- 3.2 เพื่อเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร
- 3.3 เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
4. เป้าหมาย
ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. พื้นที่ดำเนินงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินงาน
- 6.1 แต่งตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นคณะกรรมการร่วมในการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ
- 6.2 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับการแต่งตั้ง เข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่นำข้อมูลแจ้งในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อทำการปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานในส่วนที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและต้องการของประชาชน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ผลลัพธ์
การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของประชาชน เกิดทัศนคติที่ดี
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรมการออกระเบียบจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
2. หลักการและเหตุผล
อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งบัญญัติไว้ว่าภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหาราชการที่ดี พ.ศ. 2546 เรื่องหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม สามารถตรวจสอบได้
3. วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย จึงจัดทำระเบียบองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2556 และประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เรื่อง ค่าธรรมเนียมการทำสำเนาและการรับรองสำเนาข้อมูลข่าวสารของศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากขึ้น
- 2. เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนเผยแพร่ จำหน่าย จ่ายแจก รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบนี้
- 3. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร ดังนี้
- 3.1 ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
- 3.2 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้
- 3.3 ข้อมูลข่าวสารอื่น
- 3.4 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
4. เป้าหมาย
- 1. จัดเตรียมสถานที่จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ จำนวน 1 แห่ง
- 2. ระเบียบองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ จำนวน 1 ชุด
- 3. ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เรื่องค่าธรรมเนียมการทำสำเนาและการับรองสำเนาข้อมูลข่าวสารของศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จำนวน 1 ฉบับ
- 4. แบบคำร้องขอตรวจดูข้อมูลข่าวสาร จำนวน 1 ฉบับ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีการดำเนินงานโครงการ
- 6.1 จัดทำบันทึกขออนุมัติจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
- 6.2 เมื่ออนุมัติแล้ว แจ้งเวียนทราบภายในทุกส่วนราชการ
- 6.3 จัดทำร่างระเบียบฯ ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- 6.4 จัดทำร่างประกาศฯ เรื่องค่าธรรมเนียมการทำสำเนาและการรับรองสำเนาข้อมูลข่าวสาร เสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- 6.5 จัดทำร่างแบบคำร้องขอตรวจดูข้อมูลข่าวสาร เสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- 6.6 จัดเตรียมสถานที่ โต๊ะ ตู้เอกสาร และจัดวางเอกสารตามกฎหมายกำหนด
7. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – พ.ศ.2564
8. งบประมาณ
9. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10.ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 1. มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
- 2. มีการจัดระบบข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน ไว้สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
- 3. มีประชาชนขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารทางราชการ
1. ชื่อโครงการ : มาตรการการออกคำสั่งมอบหมายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดอบต.และหัวหน้าส่วนราชการ
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นหน่วยงานบริหารราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และหน้าที่ตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำอีกมากมาย ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ผู้มารับบริการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ นั้น มักจะประสบปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการเนื่องจากภารกิจมีมากมายไปรวมอยู่กับฝ่ายบริหาร ไม่มีการกระจายอำนาจ หรือมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการสั่งการ อนุมัติ อนุญาต ไปยังหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก กอง และฝ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการให้บริการ ทำให้การบริการเกิดความล่าช้า ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก อันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการกระทำการทุจริต ประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้ระบบการให้บริการภาครัฐเสื่อมประสิทธิภาพ
เพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ที่กำหนดให้การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 และมาตรา 37 ที่กำหนดให้การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ การบริหารงานมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชน ลดขั้นตอนการให้บริการและไม่สร้างเงื่อนไขขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ขึ้น
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ตอบสนองความต้องการของประชาชน
- 3.2 เพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการจากหน่วยงาน
- 3.3 เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติของผู้บริหารทุกระดับ
- 3.4 เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจอันอาจเป็นเหตุแห่งการทุจริตและประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ราชการ
4. เป้าหมาย
จัดทำคำสั่งมอบหมายงานของนายก ปลัด และหัวหน้าส่วนราชการ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
- 6.1 ออกคำสั่งมอบหมายงานในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ตามกฎหมาย ระเบียบฯ ข้อบังคับและหนังสือ สั่งการ
- 6.2 จัดทำหนังสือแจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการและผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรับทราบและถือปฏิบัติ
- 6.3 จัดทำประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
- 6.4 ให้ผู้รับมอบหมายงานตามคำสั่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายในทุกเดือน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 10.1 ผลผลิต
มีคำสั่งมอบหมายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติราชการแทน
- 10.2 ผลลัพธ์
- ประชาชนมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับอยู่ในระดับดี
- ประชาชนได้รับความสะดวก และลดการผูกขาดอำนาจหน้าที่อันเป็นช่องทางแห่งการทุจริต
1. ชื่อโครงการ : มาตรการการออกคำสั่งมอบหมายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดอบต.และหัวหน้าส่วนราชการ
2. หลักการและเหตุผล
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นหน่วยงานบริหารราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และหน้าที่ตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำอีกมากมาย ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ผู้มารับบริการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ นั้น มักจะประสบปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการเนื่องจากภารกิจมีมากมายไปรวมอยู่กับฝ่ายบริหาร ไม่มีการกระจายอำนาจ หรือมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการสั่งการ อนุมัติ อนุญาต ไปยังหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก กอง และฝ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการให้บริการ ทำให้การบริการเกิดความล่าช้า ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก อันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการกระทำการทุจริต ประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้ระบบการให้บริการภาครัฐเสื่อมประสิทธิภาพ
เพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ที่กำหนดให้การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 และมาตรา 37 ที่กำหนดให้การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ การบริหารงานมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชน ลดขั้นตอนการให้บริการและไม่สร้างเงื่อนไขขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ขึ้น
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ตอบสนองความต้องการของประชาชน
- 3.2 เพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการจากหน่วยงาน
- 3.3 เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติของผู้บริหารทุกระดับ
- 3.4 เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจอันอาจเป็นเหตุแห่งการทุจริตและประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ราชการ
4. เป้าหมาย
จัดทำคำสั่งมอบหมายงานของนายก ปลัด และหัวหน้าส่วนราชการ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
- 6.1 ออกคำสั่งมอบหมายงานในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ตามกฎหมาย ระเบียบฯ ข้อบังคับและหนังสือ สั่งการ
- 6.2 จัดทำหนังสือแจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการและผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรับทราบและถือปฏิบัติ
- 6.3 จัดทำประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
- 6.4 ให้ผู้รับมอบหมายงานตามคำสั่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายในทุกเดือน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
- 10.1 ผลผลิต
มีคำสั่งมอบหมายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติราชการแทน
- 10.2 ผลลัพธ์
- ประชาชนมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับอยู่ในระดับดี
- ประชาชนได้รับความสะดวก และลดการผูกขาดอำนาจหน้าที่อันเป็นช่องทางแห่งการทุจริต
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม/มาตรการ
โครงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อ – จัดจ้าง
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะด้วยตนเอง ทั้งในเรื่องการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานต่างๆ ตามภารกิจและการจัดทำบริการสาธารณะ แต่ต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น การที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จะต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 23 ที่กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคา และประโยชน์ระยะยาวที่จะได้รับประกอบกัน
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นต้องจัดโครงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อ – จัดจ้าง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อ – จัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ทุกโครงการและกิจกรรม
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อ – จัดจ้างตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
- 3.2 เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ สามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
- 3.3 เพื่อป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อ–จัดจ้าง ตามแผนงาน/โครงการต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ที่ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2553 จำนวน 4 ช่องทาง ได้แก่ ทางเว็บไซต์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ หนังสือ ระบบกระจายเสียงไร้สาย
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก และชุมชนต่างๆ ภายในพื้นที่ตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
- 6.1 รวบรวมข้อมูลกระบวนการจัดหาพัสดุเพื่อจัดทำประกาศ ดังนี้
- - ประกาศการจัดซื้อ – จัดจ้าง
- - ประกาศการกำหนดราคากลางในการจัดซื้อ – จัดจ้าง
- - ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่ในการตรวจรับงาน
- - ประกาศวัน เวลา สถานที่ในการตรวจรับงาน
- - ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกพร้อมวงเงินการจัดซื้อ – จัดจ้าง
- - ประกาศวัน เวลา สถานที่ในการตรวจรับงาน
- 6.2 นำส่งประกาศไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามช่องทางการประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้แก่ ทางเว็บไซต์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ระบบกระจายเสียงไร้สาย หน่วยงานราชการ เป็นต้น
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบ
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
10.1 ผลผลิต
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง
10.2 ผลลัพธ์
- ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของโครงการที่จัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
- การจัดหาพัสดุเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
- สามารถลดปัญหาการร้องเรียนการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างได้
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ การมอบอำนาจอนุมัติ อนุญาต สั่งการ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
2. หลักการและเหตุผล
การมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในการบริหารงานในด้านต่างๆ ภายในองค์กรนั้น ก็เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ซึ่งการพิจารณาเลือก/มอบหมายภารกิจและขอบข่ายของความรับผิดชอบที่จะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชา จะพิจารณาถึงความสำคัญ คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถในการที่จะดำเนินการเรื่องนั้นเป็นอย่างดี ด้วยความรอบคอบและเหมาะสม เพื่อให้การบริหารงานก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ
ดังนั้น การดำเนินการของหน่วยงานต้องมีการปรับให้เข้ากับสภาพสังคมและทันต่อสถานการณ์ที่การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่ทั้งนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงานซึ่งเป็นหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. วัตถุประสงค์
เพื่อให้การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ
4. เป้าหมาย
คณะผู้บริหาร ปลัด หรือหัวหน้าส่วนราชการ
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
- 6.1 จัดทำบันทึกเสนอเพื่อพิจารณาขออนุมัติ อนุญาต สั่งการ แต่งตั้ง มอบหมาย คณะผู้บริหาร ปลัด หรือหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
- 6.2 ดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้ง
- 6.3 สำเนาคำสั่งแต่งตั้ง แจ้งคณะผู้บริหาร ปลัด หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน ที่ได้รับมอบหมายทราบ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2564
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
การบริหารราชการ การดำเนินงาน การปฏิบัติงานเกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว ตลอดจนการอำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชน/บริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ชื่อโครงการ : มาตรการ การออกคำสั่งมอบหมายอำนาจของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2. หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ได้บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไว้หลายเรื่องหลายประการ รวมทั้งมีกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับที่บัญญัติอำนาจหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเอาไว้ การที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการในเรื่องต่างๆ เพียงผู้เดียว ก็อาจทำให้เกิดช่องว่างในการประพฤติมิชอบในขั้นตอนต่างๆ เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบล
เกาะหมาก จึงได้กำหนดมาตรการให้มีการมอบอำนาจของนายก ให้รองนายก ปลัด ได้ปฏิบัติราชการแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
3. วัตถุประสงค์
- 3.1 เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจต่างๆ ของฝ่ายบริหารเป็นไปโดยรอบคอบ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- 3.2 เพื่อให้เป็นการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
มีการมอบอำนาจอย่างน้อยจำนวน 5 เรื่อง
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
- 6.1 รวบรวมภารกิจที่อยู่ในอำนาจของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสนอนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณา
- 6.2 ออกคำสั่งมอบหมายหน้าที่ของนายก ให้รองนายก ปลัด ปฏิบัติราชการแทน
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
80 ของเป้าหมายดำเนินการแล้วเสร็จ
1. ชื่อโครงการ : กิจกรรม “การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง พัสดุ และทรัพย์สิน”
2. หลักการและเหตุผล
การบริหารงานราชการในปัจจุบัน ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทอย่างมากในการบริหารงานของราชการส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ การบริหารงานราชการส่วนท้องถิ่นต้องสามารถตรวจสอบได้ ต้องมีความโปร่งใส ต้องให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐและภาคประชาชน
3. วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงานให้ประชาชนได้รับรู้ เพื่อประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานของภาครัฐเพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้มีระบบ และกลไกในการป้องกันและตรวจสอบมิให้เกิดการทุจริต หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในภาครัฐ
4. เป้าหมาย/ผลผลิต
5. พื้นที่ดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
6. วิธีดำเนินการ
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงบประมาณ รายการบัญชีรับจ่ายเงินประจำปี และการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาพัสดุต่างๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการชำระภาษีท้องถิ่น และการรับเรื่องร้องเรียนทางด้านการเงินการคลัง ผ่านทางเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก และปิดประกาศข้อมูลดังกล่าวที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
7. ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564)
8. งบประมาณดำเนินการ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
10. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทางราชการ ประชาชนมีโอกาสได้ตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้ลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
1. ชื่อโครงการ : การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
การพัฒนาและสร้างการเรียนรู้ เพื่อมุ่งเน้นยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นสำคัญ จึงควรให้คณะกรรมการชุมชนซึ่งถือว่าเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งในชุมชน สร้างแผนชุมชนขึ้นมาด้วยตนเอง ดังความหมายของแผนแม่บทชุนที่ว่า “แผนชุมชนเป็นการทำงานเพื่อต้องการให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการเอง กำหนดทิศทางของตนเอง” การสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันเงื่อนไขจากภายนอกเข้าไปทำให้ชุมชนเปลี่ยนแนวคิดวัฒนธรรมดั้งเดิม และวิ่งตามกระแสเงิน ทำให้ชุมชนได้รับการเรียนรู้ รู้จักชุมชนของตนเองสามารถค้นหาทรัพยากรและศักยภาพของตนเอง ตลอดจนการทำโครงการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้ และการประสานกับหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือเป็นพลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
3. วัตถุประสงค์
เพื่อให้คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้เห็นข้อเด่น ข้อดี โอกาสและข้อจำกัดของชุมชนในการพัฒนาอย่างมีเป้าหมายมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสมและครอบคลุมสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้คิดเป็นและกล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้
4. เป้าหมาย
2 หมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
5. วิธีดำเนินการ
- 5.1 ประชุมผู้บริหาร กำนันผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- 5.2 ประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้หอกระจายข่าวและเสียงตามสายในหมู่บ้าน
- 5.3 ดำเนินการจัดทำแผนชุมชนของทุกหมู่บ้านตามกำหนดการ
- 5.4 ส่งแผนชุมชนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ระยะเวลาการดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ 2561 - 2564)
7. งบประมาณดำเนินการ
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
9. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
ชุมชนสามารถวางแผนจัดการกับทรัพยากรหรือทุนในชุมชน ทั้งทุนบุคคลและทุนสังคมที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพชุมชนคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมความร่วมมือกันของคนในชุมชนจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี เอื้ออาทรต่อกันได้ รวมทั้งปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมที่ดีให้กับลูกหลานสามารถหาแนวร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้
1. ชื่อโครงการ : ประชุมประชาคมหมู่บ้านและประชาคมตำบล ประจำปี
2. หลักการและเหตุผล/ที่มาของโครงการ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ค่อนข้างใหม่และมีจำนวนหลายฉบับด้วยกัน ทำให้ประชาชนยังไม่อาจได้รับทราบถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการกระจายอำนาจ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จึงได้จัดทำโครงการ ประชุมประชาคมหมู่บ้านและประชาคมตำบลประจำปีขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจการมี ส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นตนเอง
3. วัตถุประสงค์
เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน โปร่งใส และตรวจสอบได้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนถึงการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการพัฒนาท้องถิ่น และรายงานการดำเนินงานประจำปีงบประมา อีกทางหนึ่งด้วย
4. เป้าหมาย
ผู้นำองค์กรประชาชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้นำชุมชนแพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มอาชีพต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป
5. วิธีดำเนินการ
- 5.1 ติดต่อ ประสานงานกับเจ้าของสถานที่
- 5.2 แต่งตั้งคณะทำงาน
- 5.3 วางแผนกำหนด วัน เวลา สถานที่ การฝึกอบรม พร้อมกำหนดตารางการฝึกอบรม
- 5.4 เสนอโครงการ
- 5.5 ดำเนินโครงการตามวัน เวลา ที่กำหนด
6. ระยะเวลาการดำเนินการ
4 ปี (ปีงบประมาณ 2561 – 2564)
7. งบประมาณ
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
9. ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์
ผู้เข้าร่วมประชุมประชาคมสามารถเข้าใจการบริหารงานแบบการมีส่วนร่วม ตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจและเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีระหว่างประชาชนและหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น